วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ความหมายของการสื่อสารโทรคมนาคมและการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การส่งผ่านสัญญาณ หรือพลังงาน ซึ่งอาจจะเป็นข่าวสารหรือข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ระหว่างผู้ส่งและผู้รับที่อยู่ห่างไกลกัน ในการส่งผ่านสัญญาณจะอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจะเป็นแบบใช้สายโดยใช้ลวดตัวนำฉนวน หรือแบบไม่ใช้สายโดยส่งสัญญาณผ่านชั้นบรรยากาศ เช่น การสื่อสารโดยการใช้โทรศัพท์ (tele+phone = การพูดระยะไกลการแพร่ภาพโทรทัศน์ (tele + vision  การดูระยะไกล) โทรเลข (tele + graph = การเขียนทางไกลเป็นต้น
การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก 
องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

§  ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)
§  ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)
§  ข่าวสาร (Message)
§  ตัวกลาง (Medium)
§  โปรโตคอล (Protocol)
§  ซอฟต์แวร์ (Software)



ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกตัวกลาง
§  อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate)
§  ระยะทาง ระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อ
§  ค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง ค่าใช้จ่ายประจำ และค่าบำรุงรักษา
§  ความสะดวกในการติดตั้ง บางพื้นที่เหมาะกับการเดินสาย หรือบางพื้นที่อาจจะเหมาะกับสื่อแบบไร้สาย
§  ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม วิธีที่ใช้ในการสื่อสาร เช่นการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม หรือแบบขนาน ทิศทางที่ใช้ส่งข้อมูลเป็นแบบทางเดียว กึ่งสองทาง หรือแบบสองทาง เป็นต้น
ชนิดของสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
สัญญาณดิจิตอล (digital Signal)
§  สัญญาณดิจิตอล หรือเรียกว่า สัญญาณพัลซ์ (Pulse Signal)” สัญญาณที่มีระบบของสัญญาณเพียง 2 ระดับ คือ สูงและต่ำ การเปลี่ยนระดับสัญญาณจะไม่มีความต่อเนื่องกัน (Discrete) โดยปกติแล้วระดับสูงจะแทนด้วยตัวเลข 1 และระดับต่ำจะแทนด้วย 0
สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)
§  สัญญาณอนาล็อก คือ สัญญาณที่อยู่ในรูปแบบของคลื่น (Waveform) ที่มีความต่อเนื่องกัน (Continuous) มีการเปลี่ยนแปลงระดับของสัญญาณขึ้น ลงตามขนาดของสัญญาณ (Amplitude) และมีความถี่ (Frequency) ที่เรียกว่า Hertz (Hz) ตัวอย่างของสัญญาณอนาล็อก เช่น เสียงพูด (Voice) กระแสไฟฟ้าสลับ เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ระบบเครือข่าย
§  การใช้งานพร้อมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คนใช้โปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
§  การใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน ระบบเครือข่ายจะอนุญาตให้ผู้ใช้หลายๆ คน ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
§  การสื่อสารส่วนบุคคล  ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายขึ้น
§  การสำรองข้อมูลที่ง่ายขึ้น ระบบเครือข่ายสามารถทำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบสำรองข้อมูลที่สำคัญได้ง่าย